การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ


ระบบการจัดหมวดหมู่
ศูนย์วิทยบริการ ใช้การจัดหมวดหมู่หนังสือ ในระบบทศนิยม ดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System ซึ่งย่อว่า D.C.) ซึ่งตามระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือ ในระบบทศนิยมดิวอี้ จะแบ่งหมวดหมู่ออกเป็น 10 หมวด โดยใช้ตัวเลข 0-9 เป็นสัญลักษณ์ แต่ละหมวดกำหนดเป็นหลักร้อย (เลขสามหลัก) ดังนี้

  • 000 เบ็ดเตล็ด คอมพิวเตอร์ บรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศาสตร์
  • 100 ปรัชญา
  • 200 ศาสนา
  • 300 สังคมศาสตร์
  • 400 ภาษา
  • 500 วิทยาศาสตร์
  • 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยี
  • 700 ศิลปะและนันทนาการ
  • 800 วรรณคดี
  • 900 ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์

ศูนย์วิทยบริการ ได้กำหนดตัวอักษรแทนหมวดหมู่หนังสือ โดยกำหนดสัญลักษณ์เป็นอักษรย่อตามประเภททรัพยากรสารสนเทศ ดังนี้

น. หมายถึง นวนิยาย
ร.ส. หมายถึง เรื่องสั้น
ส.ร. หมายถึง สิ่งพิมพ์รัฐบาล
อ. หมายถึง อ้างอิง
ย. หมายถึง เยาวชน
วจ หมายถึง วิจัย
วพ หมายถึง วิทยานิพนธ์

สัญลักษณ์ ภาษาต่างประเทศ

R. = Reference

หลักเกณฑ์การเรียงหนังสือบนชั้น

โดยเรียงจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก จากซ้ายไปขวา โดยเริ่มเรียงจากชั้นบนสุดก่อนถัดลงมาตามลำดับจนถึงชั้นล่างสุด หนังสือที่มีเลขหมู่เหมือนกันเรียงตามลำดับตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง
1.หนังสือที่มีเลขหมู่ไม่เหมือนกัน อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งซ้ำกัน เรียงตามลำดับตัวเลข
2.หนังสือที่มีเลขหมู่เหมือนกัน อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งซ้ำกันและเลขผู้แต่งซ้ำกันเรียงตามอักษรของชื่อเรื่อง
3.หนังสือเรื่องเดียวกันผู้แต่งคนเดียวกัน มีหลายฉบับซ้ำกัน เรียงตามลำดับฉบับ
4.หนังสือหลายเล่มจบ เรียงตามลำดับจากเล่มแรกถึงเล่มสุดท้าย
5.หนังสือหลายเล่มจบ และมีซ้ำหลายฉบับเรียงตามจำนวนเล่มและจำนวนฉบับ